วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติ ศรคีรี ศรีประจวบ



ประวัติครูหวังเต๊ะ

ครูหวังเต๊ะ
นายหวังดี นิมา หรือ เป็นที่รู้จักกันดีว่า “หวังเต๊ะ” เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2468 ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถเป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า “ลำตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะ การแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่า ภาคภูมิใจยิ่ง
นอกจากนั้น ครูหวังเต๊ะ ยังเป็นศิลปินผู้มีคุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทย มาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี 2531
ในบั้นปลายชีวิต ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนกระทั่งถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ก็ถึงแก่กรรม สิริอายุได้ 87 ปี




ประวัติ ศรคีรี ศรีประจวบ

 


ศรคีรี เล่าถึงประวัติของตัวเองเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2515 ว่า "บ้านเกิดผมเลขที่ 13 บ้านหนองอ้อ ต. บางกระบือ อ.บางคณที (จ.สมุทรสงคราม ) พ่อผมชื่อมั่ง แม่ชื่อเชื้อ ผมมีพี่น้อง 6 คน ผมเป็นคนสุดท้อง ชื่อจริงผม ชื่อ ศรชัย (น้อย) ทองประสงค์ เกิดวันที่ 4 มีนาคม 2487 ผมเรียนจบ ป.4 ที่โรงเรียนพรหมสวัสดิ์สาธร จบมาก็ช่วยแม่ปาดตาล (มะพร้าว) ปีนต้นตาลทุกวัน มันเหนื่อยก็เลยหยุดพักบนยอดตาล เพื่อ ไม่ให้เสียเวลาผมก็ร้องเพลงบนยอดตาลจนหายเหนื่อยแล้วค่อยทำงานต่อ เพลงที่ชอบร้องก็มี "เสือสำนึกบาป" , "ชายสามโบสถ์" เพราะตอนนั้นเพลงของคำรณ สัมบุณนานนท์ ฮิตเป็นบ้าเลย ตอนนั้นอยาก เป็นนักร้องใจแทบขาด เวลาวงดนตรีของ พยงค์ มุกดา มาแสดงใกล้บ้าน ผมจะไปสมัครร้องให้คุณพยงค์ฟัง แกบอกว่าให้ไปหัดร้องมาใหม่ พยายามอยู่ 2 ครั้งครูพยงค์บอกว่ายังไม่ดี ผมเลย เลิกไปเอง จากนั้นพออายุ 20 ปี บวชได้พรรษาหนึ่งก็สึก พ่อแม่ผมไปซื้อไร่ที่ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โน่น ตอนนั้นเขากำลังทำไร่สับปะรดกัน"
แต่ประวัติอีกกระแสบอกว่า เพราะรักครั้งแรกเป็นพิษขณะที่บวช เมื่อว่าที่พ่อตาให้ลูกสาวแต่งงานกับชายอื่น เขาจึงเตลิดหนีออกจากบ้านมาอยู่กับพี่ชายที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพี่ชายแบ่งไร่สับปะรดให้ทำ
ที่นี่ ศรคีรีเริ่มร้องเพลงอีกครั้ง โดยเข้าประกวดร้องเพลงตามงานวัด และคว้ารางวัลมากมาย จนเพื่อนชื่อ พยงค์ วงศ์สัมพันธ์ มาชวนให้ร่วมวงที่เช่าเครื่องดนตรี และจ้างครูดนตรีจากที่ค่าย "ธนะรัชต์" มาสอน เพื่อความสนุกในหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อคนรู้จักมากขึ้น จึงตั้งวง "รวมดาววัยรุ่น" ที่ต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็น "รวมดาวเมืองปราณ" รับงานแสดงทั่วไปตามบ้านที่ขายสับปะรดได้โดยไม่คิดเงินทอง ตอนนั้นศรคีรีร้องเพลงแบบรำวง และใช้ชื่อ "พนมน้อย" เพราะร้องเพลงของ พนม นพพร และศักดิ์ชาย วันชัย ต่อมาได้นำวงมาแสดงในงานปีใหม่ของจังหวัด "ประหยัด สมานมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ฟังเสียง และเห็นหน้าก็รักใคร่ชอบพอ จึงเปลี่ยนชื่อให้เป็น ศรคีรี ศรีประจวบ
หลังจากนั้น วิจิตร ฤกษ์ศิลป์วิทยา คนอยู่ใกล้บ้านกันให้การสนับสนุนเพื่อวงดนตรีแข็งแรงขึ้นและพากันเข้ากรุงเทพฯ เช่าเวลารายการวิทยุยานเกราะจาก จำรัส วิภาตะวัธ วิ่งล่องกรุงเทพฯ ประจวบฯอยู่บ่อยๆ ก็ได้พบกับ เพลิน พนาวัลย์ ที่พาเขาไปพบ ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่บ้าน ตามคำขอร้องของศรคีรี    

โด่งดัง
"ภูพาน เพชรปฐมพร" นักร้องที่ใกล้ชิดกับศรคีรีในวง “ รวมดาววัยรุ่น “ เล่าว่า ตอนไปขอเพลง ตอนนั้นครูมีนักร้องที่ดังมากคือ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ เป็นลูกศิษย์อยู่ ศรคีรีก็ร้องเพลงแนวเดียว กัน ครูไพบูลย์ก็ไม่ให้ จึงต้องเทียวไปเทียวมาอยู่หลายครั้ง จนครูใจอ่อน เพลงแรกที่ได้มาคือ น้ำท่วม ตอนที่บันทึกเพลง น้ำท่วม จ. ประจวบคีรีขันธ์ เสียหายอย่างมาก สับปะรดถูกน้ำท่วมทั้ง หมด นอกจากนั้น ครูก็ยังให้เพลงมาอีก 3 เพลง คือ "บุพเพสันนิวาส" , "แม่ค้าตาคม" , "วาสนาพี่น้อย" สำหรับการบันทึกเสียงครั้งแรกนั้น ชุดแรกมีทั้งหมด 6 เพลง คือ น้ำท่วม, บุพเพสันนิวาส, วาสนาพี่น้อย, แม่ค้าตาคม, พอหรือยัง และบางช้าง งานนี้ ศรคีรี เปลี่ยนสภาพจากนักร้องเพลง รำวง มาเป็น นักร้องเพลงหวานโดยสมบูรณ์
หลังจากเพลงเริ่มเป็นที่รู้จัก ศรคีรีลงมาอยู่กรุงเทพฯ แต่ยังไม่นำวงดนตรีมาด้วย โดยจะนำมาก็แต่เมื่อมีงาน ครั้งแรกในกรุงเทพฯ เขาเปิดการแสดงงานศพน้องชายครูไพบูลย์ที่วัดหลักสี่ บางเขน จากนั้นวงก็เริ่มรับงานในกรุงเทพฯ และเดินสายทั่วประเทศ และในการออกเดินสายใต้เป็นครั้ง แรก วงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จัดว่าเป็นวงที่มีค่าตัวแพงวงหนึ่ง ช่วงนั้นศรคีรีได้มีโอกาสแสดงหนังของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เรื่อง "มนต์รักจากใจ" ด้วย
ต่อมาศรคีรีมีชื่อเข้าไปพัวพันคดีสังหารคนในวงการด้วยกัน ชื่อเสียงจึงตกลงไปบ้าง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ และกลับมาอีกครั้งในเพลง "ตะวันรอนที่หนองหาร" "อยากรู้ใจเธอ" รักแล้งเดือนห้า" "ลานรักลั่นทม" และ "คิดถึงพี่ไหม" ซึ่งเพลงหลังนี้ ขณะบันทึกเสียงศรคีรีร้องโดยปิดไฟมืด ซึ่งเขาไม่เคยทำมาก่อน เพลงนี้แต่งโดย พยงค์ มุกดา โดย ทิว สุโขทัย เคยร้องไว้เป็นคนแรกและเสียชีวิตไปก่อนหน้า และเพลงนี้เป็นเพลงสุดท้ายที่ศรคีรีได้บันทึกเสียงไว้

ลาลับ
ก่อนเสียชีวิต ศรคีรีเคยไปทำการแสดงที่โรงหนังเอกมัยราม่า มีคนนำเอาพวงมาลัยดอกไม้สด แต่คาดด้วยผ้าดำแบบที่ทำไว้สำหรับคนตายมอบให้บนเวทีขณะร้องเพลง ศรคีรีรับไว้ด้วยความเกรงใจ เมื่อกลับเข้าหลังเวที ศรคีรีสั่งเลิกการแสดงคืนนั้นทันทีทั้งที่ร้องเพลงได้เพียง 5 เพลง
ด้วยวัยแค่ 28 ปี ศรคีรี ศรีประจวบ จากโลกนี้ไปเมื่อ 30 มกราคม 2515 ด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในเวลาไม่แน่นอน ประมาณ 03.00 - 05.00 น.บริเวณริมถนนพหลโยธิน ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ขณะเดินทางกลับจากการแสดงที่วัดหน้าพระธาตุ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเปิดทำการแสดงที่วัดภาษี เอกมัย ในตอนค่ำ คาดว่าคนขับรถของศรคีรีเกิดง่วงนอน จึงจอดรถเก๋งโตโยต้าคราวน์ข้างทางเพื่อพักสักงีบ แต่ปรากฏว่ารถบรรทุกไม้ วิ่งมาด้วยความเร็วสูงประกอบกับบริเวณนั้นเป็นสะพานสูง เมื่อรถบรรทุกไม้วิ่งมาด้วยความเร็ว เมื่อถึงสะพานก็ทำให้รถกระโดดเสียหลัก ขึ้นไปทับรถของศรคีรี ทำให้เขาเสียชีวิตคาที่
หลังแสดงวันนั้น ลูกวงได้ออกเดินทางมายังจุดนัดพบที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งก่อน แต่หลังจากที่ลูกวงรออยู่นาน หัวหน้าวงยังเดินทางมาไม่ถึง จึงออกเดินทางต่อ แต่วิ่งไปสักระยะหนึ่ง ก็มีรถพลเมืองดีวิ่งไล่ตามและเรียกให้จอด เพื่อแจ้งข่าวเรื่องการประสบอุบัติเหตุของรถของศรคีรี หลังพบใบปลิวการแสดงปลิวออกจากรถศรคีรีเกลื่อนกลาด หลังรถบัสวิ่งกลับไปก็พบศพดังกล่าว ข้อมูลบางแหล่งบอกว่า ศรคีรี เสียชีวิตประ มาณ 8.00 น.ซึ่งเวลาดังกล่าวน่าจะเป็นเวลาพบศพมากกว่า
ก่อนเสียชีวิต ศรคีรี สมรสแล้ว และมีบุตรธิดารวม 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 ชื่อ สมศักดิ์ ,ชนัญญา และสันติ
ครูไพบูลย์ บุตรขัน เคยเขียนไว้อาลัยการจากไปของศรคีรีว่า "แด่สุดรัก เธอเกิดมาเป็นผู้กล่อมโลก ฉันเป็นผู้ถ่ายทอดอารมณ์ บัดนี้เธอจากโลกไปแล้วเหลือเพียงเสียงเพลง ศรคีรี ศรีประจวบ ฉันเสียดาย เสียดายจริงๆ เพราะเธอควรจะอยู่กล่อมโลกให้นานกว่านี้ "



ผลงานเพลงดัง

01. ฝนตกฟ้าร้อง (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 02. วาสนาพี่น้อย (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 03. ขี่เหร่ก็รัก (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 04. บุพเพสันนิวาส (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 05. แม่ค้าตาคม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 06. น้ำท่วม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 07. แล้งน้ำใจ (พยงค์ มุกดา) 08. ดอกรักบานแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 09. หนุ่มนาบ้ารัก (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 10. ทุ่งรัก (ครูพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) 11. พอหรือยัง (ชลธี ธารทอง) 12. บางช้าง (ศรคีรี ศรีประจวบ) เพลงแก้คือ สาวบางช้าง - ขวัญดาว จรัสแสง 13. หวานเป็นลมขมเป็นยา (สำเนียง ม่วงทอง) 14. เฝ้าดอกฟ้า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 15. หนาวลมเรณู (สุรินทร์ ภาคศิริ) (สนธิ สมมาตร์ เคยนำมาร้อง) 16. ตะวันรอนที่หนองหาร (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา) 17. เสียงขลุ่ยบ้านนา (เกษม สุวรรณเมนะ) (สายัณห์ สัญญา เคยนำมาร้อง แต่เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น เสียงขลุ่ยเรียกนาง) เพลงแก้คือ มนต์ขลังเสียงขลุ่ย - วันเพ็ญ เดือนเต็มดวง 18. มนต์รักแม่กลอง (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 19. หนุ่มกระเป๋า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 20. รักแล้งเดือนห้า (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 21. ลานรักลั่นทม (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 22. รักจากใจ (สำเนียง ม่วงทอง) 23. ไปให้พ้น (สมนึก ปราโมทย์) 24. คนมีเวร (สงเคราะห์ สมัตภาพงษ์) 25. อยากรู้ใจเธอ (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 26. เข็ดแล้ว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 27. พระอินทร์เจ้าขา (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) เพลงแก้คือ เทวดาเจ้าคะ - เตือนใจ บุญพระรักษา 28. คิดถึงพี่ไหม (พยงค์ มุกดา) เพลงแก้คือ น้องคิดถึงพี่ - ขวัญดาว จรัสแสง 29. ทุ่งสานสะเทือน (พยงค์ มุกดา) 30. เสียงซุงเว้าสาว (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 31. รักเธอหมดใจ (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 32. กล่อมนางนอน (ไพบูลย์ บุตรขันธ์) 33. แม่กระท้อนห่อ (พยงค์ มุกดา) 34. หนุ่มนา (พยงค์ มุกดา)
ศรคีรี ศรีประจวบ บันทึกผลงานเพลงเอาไว้บางส่วน ดังนี้
ผลงานการแสดง
  • มนต์รักจากใจ
  • เกียรติยศ
  • ปี 2547 ผลงานเพลง"เสียงขลุ่ยเรียกนาง"ของศรคีรี ศรีประจวบ จากการประพันธ์โดย เกษม สุวรรณเมนะ และขับร้องใหม่โดย ไท ธนาวุฒิ ได้รับรางวัล"มาลัยทอง"ประเภทเพลงเก่าทำใหม่ยอดเยี่ยม

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Tour de France

 Tour de France

Bicycle-icon.png ตูร์เดอฟรองซ์ (ฝรั่งเศส: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากรองด์บูกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
ตูร์เดอฟรองซ์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ
การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้(L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส
ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส
การแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ
Jersey yellow.svg
สีเหลือง (maillot jaune - yellow jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด
Jersey green.svg
สีเขียว (maillot vert - green jersey) สำหรับผู้ที่มีคะแนนรวมสูงที่สุด (the leader of the points classification)
Jersey polkadot.svg
สีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges - polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains
Jersey white.svg
สีขาว (maillot blanc - white jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 26 ปี
Jersey worldtour.svg
สีรุ้ง (maillot arc-en-ciel - rainbow jersey) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (World Cycling Championship) ซึ่งมีกฏว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่
Jersey combined.svg
เสื้อแบบพิเศษ สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด และชนะการแข่งขันช่วงย่อย และจ้าวภูเขา



ผู้ชนะเลิศ

รายชื่อผู้ชนะเลิศตั้งแต่ครั้งแรกในภาษาอังกฤษอยู่ทางด้านขวา
แลนซ์ อาร์มสตรอง นักแข่งจักรยานชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์มากที่สุด คือ 7 สมัยติดต่อกัน รองมาคือ มีเกล อินดูเรน (สเปน) ชนะ 5 สมัยติดต่อกัน แบร์นาร์ อีโนล (ฝรั่งเศส) ชาก อองเกอตีล (ฝรั่งเศส) และเอดดี เมิกซ์(เบลเยียม) ชนะคนละ 5 สมัย

ผู้ชนะเลิศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991


การแข่งขันครั้งที่ปี ค.ศ.ผู้ชนะเลิศ
78-821991-1995ธงชาติของสเปน มีเกล อินดูเรน (5 ปีติดต่อกัน)
831996ธงชาติของเดนมาร์ก บียานร์น รีส์*
841997ธงชาติของเยอรมนี แยน อุลริช
851998ธงชาติของอิตาลี มาร์โก แพนตานี
86-921999-2005Flag of the United States แลนซ์ อาร์มสตรอง (7 ปีติดต่อกัน)
932006ธงชาติของสเปน โอสการ์ เปเรย์โร (Flag of the United States ฟลอยด์ แลนดิส ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากใช้สารกระตุ้น[1])
942007ธงชาติของสเปน อัลเบอร์โต คอนทาดอร์
952008ธงชาติของสเปน คาร์ลอส ซาสเตร
  • ในปี 2007 บียานร์น รีส์ ยอมรับว่าได้ใช้สารกระตุ้นระหว่างการแข่งขันทำให้ผู้จัดการแข่งขันปฏิเสธที่จะยอมรับสถานะผู้ชนะเลิศของเขา ทว่าสหพันธ์จักรยานสากล (Union Cycliste Internatinale - UCI) แถลงว่าหมดเวลาที่จะตัดสิทธิ์เขาจากการเป็นผู้ชนะเลิศ จึงเพียงแต่ขอร้องให้เขาคืนเสื้อสีเหลืองที่แสดงสถานะของการเป็นผู้ชนะเลิศ 
    
ตูร์เดอฟรองซ์ (Tour de France)
ชื่อท้องถิ่นเลอตูร์เดอฟรองซ์
(Le Tour de France)
ภูมิภาคฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง
วันที่7 ถึง 26 กรกฎาคม (ค.ศ. 2009)
ประเภทStage Race (Grand Tour)
General DirectorChristian Prudhomme
ประวัติ
แข่งขันครั้งแรกค.ศ. 1903 (พ.ศ. 2446)
จำนวนการแข่งขัน96 (ค.ศ. 2009)
ผู้ชนะคนแรกธงชาติของฝรั่งเศส โมรีซ กาแรง
ชนะมากที่สุดFlag of the United States แลนซ์ อาร์มสตรอง (7) ค.ศ. 1999-2005
ผู้ชนะล่าสุดธงชาติของสเปน อัลเบอร์โต้ คอนทาดอร์(2009)
Most career Yellow Jerseysธงชาติของเบลเยียม เอดดี เมิกซ์ (96) (111 overall incl. half stages)
ชนะแต่ละช่วงมากที่สุดธงชาติของเบลเยียม เอดดี เมิกซ์ (34)
ภาพการเเข่งขันจักรยานทางไกลTour de France


เป็นภาพในสเตทแรกข้ามสะพานอีราสมุสในกรุงรอตเตอร์ดัม วันที่ 4ก.ค 52


 ถึงกับหรั่งน้ำตา 38 38 Mark Cavendish นักปั่นชาวอังกฤษ ขณะที่ขึ้นโพเดียมรับรางวัลในสเตทที่5

Mark Cavendish นักปั่นชาวอังกฤษ สปรินก่อนเข้าเส้นชัยในสเตทที่5

ทามกลางสายฝน Cadel Evans นักปั่นชาว ออสเตเลีย โหดแค่ไหน 39

ผู้นำในสเตทที่2 Sylvain Chavanel

ยังไหว 46 46เห็นเลือดแล้วเจ็บแทน

สภาพของLance Armstrong หลังจากขี่ผ่าน 30 30

ผุ้นำในสเตทที่ 2 วันที่ 5 ก.ค Fabian Cancellara(เสื้อเหลืองกลาง)

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Bonjour


c'est moi















   J m'appelle  surasak sriphum . 
    Je suis thailandaise . 
                          Je suis neé le 18Juin 1996.   
              j'ai 16ans.
je suis èlève en seconde à l'ècole Wang Kai Kang won.
j'aime le français et l'anglais.
j'aime aussi la musique pop et j'aime regarder la tèlèvision.
j' aime le sport
Je n' aime pas les math
Je voudrais ètre j'aime je suis breu

















Il y a 27 pays dans l'Union européenne:
1.) Autriche Vienne ( Austria : Vienna )
 
2.) Belgique Bruxelles ( Belgium : Brussels )
3.) Bulgarie Sofia ( Bulgaria : Sofia )
4.) Chypre Nicosie ( Cyprus : Nicosia )
5.) République tchèque Prague ( Czech Republic : Prague )
6.) Danemark Copenhague ( Denmark : Copenhagen )
7.) Estonie Tallinn ( Estonia : Tallinn )
8.) Finlande Helsinki ( Finland : Helsinki )
9.) France Paris ( France : Paris )
10.) Allemagne Berlin ( Germany : Berlin )
11.) Grèce Athènes ( Greece : Athens )
12.) Hongrie Budapest ( Hungary : Budapest )
13.) Irlande Dublin ( Ireland : Dublin )
14.) Italie Rome ( Italy : Rome )
15.) Lettonie Riga ( Latvia : Riga )
16.) Lituanie Vilnius ( Lithuania : Vilnius )
17.) Luxembourg Luxembourg ( Luxembourg : Luxembourg )
18.) Malte La Valette ( Malta : Valletta )
19.) Pays-Bas Amsterdam ( Netherlands : Amsterdam )
20.) Pologne Varsovie ( Poland : Warsaw )
21.) Portugal Lisbonne ( Portugal : Lisbon )
22.) Roumanie Bucarest ( Romania : Bucharest )
23.) La Slovaquie Bratislava ( Slovakia : Bratislava )
24.) La Slovénie Ljubljana ( Slovenia : Ljubljana )
25.) Espagne Madrid ( Spain : Madrid )
26.) Suède Stockholm ( Sweden : Stockholm )
27.) Royaume-Uni Londres ( United-Kingdom : London )